2010年11月19日

สินค้าส่งออกของอิตาลี

แก้แล้ว
 อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

       ภาวะปัจจุบัน

1. การผลิต
     
        ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2545 มีจำนวน 2,515,799 เมตริกตัน   โดยมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 63.6   ทั้งนี้เป็นผลมาจากการใช้มาตรการต่างๆ ของรัฐ  เช่น  มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ธุรกิจภาคก่อสร้างทั้งภาคเอกชนและภาครัฐมีการฟื้นตัว รวมถึงการประกาศใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs)ต่างๆ เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ  ส่งผลให้ปริมาณการใช้เหล็กในประเทศเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นมากที่สุดในไตรมาสนี้ คือ เหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ  134.3 เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในภาคการก่อสร้าง  ประกอบกับการเร่งโครงการขนาดใหญ่ต่างๆของภาครัฐและโครงการหมู่บ้านจัดสรรของภาคเอกชน ให้เสร็จทันตามกำหนดเวลา รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.3 เนื่องจากการใช้มาตรการคุ้มครองอุตสาหกรรมจากภาครัฐ ผลิตภัณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเป็นอันดับสาม คือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ  38.6
       
     

ปัญหาการผลิต

 

        จากปัญหากำลังการผลิตล้นตลาด   ทำให้เกิดการควบรวมกิจการกันระหว่างบริษัทในเครือปูนซีเมนต์ไทย  (บริษัทเหล็กสยามและบริษัทเหล็กก่อสร้างสยามกับกลุ่ม เอน ที เอส สตีล โ  ดยตั้งเป็นกลุ่มใหม่ชื่อว่า  .มิลเลเนี่ยม สตีล    ซึ่งจะผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวได้แก่เหล็กแท่งกลม   เหล็กข้ออ้อย เหล็กลวดและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณขนาดเล็ก   การรวมตัวนี้ บ.มิลเลเนี่ยมสตีลจะมีชื่ออยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของไทย   โดยกลุ่มปูนซีเมนต์ไทยจะมีหุ้นในมิลเลเนี่ยมสตีลประมาณ 45% ส่วนที่เหลือประมาณ 55%  จะถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นในกลุ่มเอน ที เอส เดิม เจ้าหนี้และบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน

2. การตลาด
                2.1 ตลาดในประเทศ
- ปริมาณการใช้
ปริมาณความต้องการใช้ภายในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2545 มีจำนวน  4,458,662  ตัน  โดยมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เพิ่มขึ้น คือ ร้อยละ 51.6  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  โดยส่วนใหญ่เป็นการใช้เหล็กที่ผลิตได้ในประเทศ ผลิตภัณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้เพิ่มมากที่สุด คือเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 144.5  เนื่องจากการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์   ในครึ่งปีแรก ของปี 2545 มีจำนวน   8,055,122 ตัน  เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  โดยเฉพาะเหล็กทรงยาวมีปริมาณการใช้เพิ่มมากที่สุด
2.2 ตลาดต่างประเทศ
2.2.1 การนำเข้า
            ปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2545 มีจำนวน 2,282,919 เมตริกตัน มูลค่าโดยรวมประมาณ 549,778,192 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.59 และ 9.06 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป(Semi- Finished products) มีการเปลี่ยนแปลงูลค่าการนำเข้าเพิ่มมากที่สุด คือร้อยละ 52.28  เนื่องจากเป็นวัตถุดิบในการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนและเหล็กทรงยาว โดยส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากประเทศยูเครนและรัสเซีย รองลงมาคือ เหล็กลวด เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.07 เนื่องจากการเติบโตของอุตสาหกรรมก่อสร้าง  ผลิตภัณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการนำเข้าเพิ่มเป็นอันดับสาม คือ เหล็กแผ่นเคลือบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.06 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง  สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดคือ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงร้อยละ 16.46 เนื่องจากการใช้มาตรการคุ้มครองอุตสาหกรรมจากภาครัฐ รองลงมาคือ ท่อเหล็ก ลดลงร้อยละ 13.73  รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 2
สำหรับปริมาณการนำเข้าในครึ่งปีแรก ของปี 2545 มีจำนวน 4,222,172 เมตริกตัน  มูลค่าโดยรวมประมาณ 1,047,629,592 เหรียญสหรัฐฯ  อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ  33.65 และ 10.92 ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป และเหล็กลวด โดยมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ  54.54 และ 27.87 ตามลำดับ สำหรับเหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นรีดร้อนมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการนำเข้าลดลง ร้อยละ 22.27 และ 6.34  ตามลำดับ
2.2.2 การส่งออกสถานการณ์ปี 2552
ปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2545 มีจำนวน 340,056 เมตริกตัน  มูลค่าโดยรวม  120,278,821.67 เหรียญสหรัฐฯ  อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและมูลค่าการส่งออกมีทิศทางที่เพิ่มขึ้น คือ ร้อยละ 11.01  และ 0.47 ตามลำดับ  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้จะเห็นว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากภาวะการแข่งขันทางการค้าของอุตสาหกรรมเหล็ก ประเทศผู้ส่งออกจึงนำกลยุทธ์ทางด้านการลดราคาเข้ามาใช้ ประกอบกับการใช้มาตรการกีดกันการนำเข้าของต่างประเทศ   โดยผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ เหล็กลวด เพิ่มขึ้นร้อยละ 358.29 โดยส่งออกไปยังประเทศลาว และอิสราเอล รองลงมาคือ ท่อเหล็ก เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.12 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออกลดลงคือ ผลิตภัณฑ์เห็กกึ่งสำเร็จรูป(Semi-Finished products) ลดลงร้อยละ 97.37 เนื่องจากนำมาใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กขั้นกลางในประเทศมากขึ้น รองลงมาคือเหล็กแผ่นรีดร้อน  ลดลงร้อยละ 82.51 เนื่องจากการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าของต่างประเทศ เช่น มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดของประเทศสหรัฐอเมริกา(มาตรการ 201) และมาตรการ Safeguard ของสหภาพยุโรป  ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย                                           
การผลิต
ปริมาณเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญปี 2552 มีปริมาณ  6,569,485 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิด การนับซ้ำ ) ลดลง ร้อยละ 13.72 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนและเมื่อพิจารณาในราย ผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 48.40 รองลงมาคือเหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 32.14 และผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่ง สำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 30.40 โดยเป็นผลมาจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั้งในและ ต่างประเทศ จึงมีผลทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องซึ่งเป็นผู้ใช้เหล็กที่สำคัญ เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า มีความต้องการใช้เหล็กลดลง       
การใช้ในประเทศ
ปริมาณการใช้เหล็กและเหล็กกล้าในประเทศที่สำคัญใน ปี 2552 ประมาณ 8,955,082 เมตริกตัน ลดลง ร้อยละ 26.45   เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน   โดยเป็นผลมาจากความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กทรงแบนที่ลดลง ร้อยละ 26.76 และเหล็กทรงยาวที่ลดลง ร้อยละ 25.94
การนำเข้า
มูลค่าและปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญใน ปี 2552   มีจำนวนประมาณ173,043 ล้านบาทและ 6,946,241 เมตริกตัน    โดยมูลค่าและปริมาณการนำเข้าลดลง ร้อยละ 48.39 และ 32.20  ประเทศที่มีการนำเข้ามากที่สุด ไ ด้แก่  ประเทศญี่ปุ่นและรัสเซีย ผลิตภัณฑ์ที่มี  มูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  ได้แก่ เ หล็กแผ่นบางรีดร้อน (HR sheet) ลดลง ร้อยละ 64.95 รองลงมาคือ   เหล็กแผ่นบางรีดร้อนชนิดผ่านการกัดล้างและชุบน้ำมัน (HR sheet P&O) ลดลงร้อยละ 58.44  และผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ชนิดอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 57.44ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กแท่งแบน (Slab) มีมูลค่า25,210 ล้านบาท รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน มีมูลค่า 18,410 ล้านบาท        
 การส่งออก
 มูลค่าและปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในปี 2552 มีจำนวนประมาณ 36,599ล้านบาท และ 1,354,448 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการส่งออก ลดลง ร้อยละ 50.90และ 37.89 ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดในช่วงนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน ลดลง ร้อยละ 82.77 และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้าลดลง ร้อยละ 74.47 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการมูลค่าการส่งออกมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ท่อเหล็กมีตะเข็บ มีมูลค่า 9,007 ล้านบาท รองลงมาคือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน มีมูลค่า 4,334 ล้านบาท และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน มีมูลค่า 4,015 ล้านบาท ตามลำดับ
การส่งออกและนำเข้า                
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าในไทยยังไม่มีผู้ผลิตครบวงจร   โดยจะมีเพียงผลิตภัณฑ์เหล็กอุตสาหกรรมกลางน้ำและอุตสาหกรรมปลายน้ำเท่านั้น    โดยการส่งออกในอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้ามีแนวโน้มลดลงโดยเฉพาะตลาดหลัก คือ อินเดีย สหรัฐอเมริกา และตลาดใหม่ที่สามารถส่งออก  ได้แก่  ประเทศซาอุดิอาระเบีย เวียดนาม อินเดีย  และมีการคาดการณ์ว่าในปี 2553 จะมีการนำเข้าเหล็กชนิดต่างๆ เพิ่มมากขึ้นเพราะปริมาณเหล็กคงคลังในประเทศไทยยังมีไม่มาก เนื่องจากไม่มีการกักตุนรวมทั้งมีกำลังการผลิตน้อยและขาดการส่งเสริมจากภาครัฐตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำอย่างเป็นระบบ

แนวโน้มปี2553

แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในปี 2553   เมื่อเทียบกับปี 2552 คาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวเพราะสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่นอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน   และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า  ที่มีการฟื้นตัวขึ้นเช่นกันซึ่งจะส่งผลให้มีการใช้เหล็กมากยิ่งขึ้นคาดว่าความต้องการใช้เหล็กของปี 2553 จะอยู่ในช่วง 10.98 12.57 ล้านตัน 
ภาวะอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า   มีแนวโน้มว่าจะทรงตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก   ตลอดจนมาตรการเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศของภาครัฐ   เช่น มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD/CVD) และการสนับสนุนให้มีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs)  เช่น   มาตรการตรวจสอบมาตรฐานการนำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เพิ่มมากขึ้น    ซึ่งจะเป็นการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศและทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ   ที่ใช้เหล็กเป็นวัตถุดิบใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน   และยังเป็นการสนับสนุนให้ผู้ผลิตเหล็กในประเทศพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ตนเองต่อเนื่องด้วย

แหล่งที่มา    http://strategy.dip.go.th/
                             http://www.oie.go.th/industrystatus1/r_JulSep45/JulSep45_9_13.doc


วิเคราะห์  swot

               จุดแข็ง 
                1. มีการนำเครื่องจักรที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการผลิต
                2. บุคลากรมีความพร้อมที่จะรับการเรียนรู้ในเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ
                3. อุตสาหกรรมมีแหล่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมจึงทำให้เกิดความได้เปรียบในการกระจายผลิตภัณฑ์ไปยังประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน
        จุดอ่อน 
              1.ขาดแคลนการผลิตแร่เหล็กทำให้อุตสาหกรรมเหล็กไทยต้องนำเข้าเหล็กต้นน้ำเกือบทั้งหมดเพื่อผลิตเหล็กกลางน้ำและเหล็กปลายน้ำ
2. ผู้ประกอบการขาดความต่อเนื่องเชื่อมโยงในระบบการผลิต
3.
อุตสาหกรรมมีการใช้กำลังการผลิตของเครื่องจักรไม่เต็มประสิทธิภาพและมีการใช้
กระบวนการผลิตที่ไม่เหมาะสมทำให้ต้นทุนการผลิตของไทยสูง 
                4. ขาดกลไกในการแก้ไขปัญหาการทุ่มตลาดและข้อกีดกันทางการค้าอย่างทันท่วงที
5. ขาดแคลนแรงงานและโครงสร้างระบบสาธารณูปโภคที่มีคุณภาพเพียงพอ
6.
ขาดยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กและผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจนจากภาครัฐ
          โอกาส
         1. อัตราการบริโภคเหล็กต่อตัวยังมีโอกาสขยายตัวได้อีก เนื่องจากขณะนี้อัตราส่วนดังกล่าวยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการบริโภคเหล็กต่อหัวในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ต้องพิจารณาปัจจัยอื่น (ภายนอก/ภายใน)     
              2. ผลิตภัณฑ์เหล็กสามารถนำไปใช้เป็นวัสดุทดแทนผลิตภัณฑ์อื่นเช่น  คอนกรีตและไม้อุตสาหกรรมเหล็กและแนวโน้มในการพัฒนาไปสู่รูปแบบใหม่ๆก็ได้
        อุปสรรค
        1. อุตสาหกรรมเหล็กต้องใช้เงินลงทุนสูง และต้องอาศัยการนำเข้าวัตถุดิบ เทคโนโลยี และอุปกรณ์การผลิตจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก
        2. โครงสร้างภาษีและขั้นตอนศุลกากรของไทยมีความยุ่งยากและซับซ้อนทำให้เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ      
             3. การแข่งขันในตลาดโลกที่สูงขึ้น และการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าและการทุ่มตลาดจากประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ อาทิ ญี่ปุ่นและจีน เป็นต้น       

                                                                                                          

5 則留言:

  1. ตัวหนังสือใหญ่อ่านง่ายมากๆๆๆๆๆๆ

    回覆刪除
  2. เนื้อหาดี อ่านง่าย รูปแบบสวย

    回覆刪除
  3. Your article is confusing.
    Find a new one and I want export news.

    回覆刪除
  4. เนื้อหาดีมีรูปภาพประกอบ การจัดวางดี

    回覆刪除
  5. อาจารย์ค่ะ หนูแก้ไขแล้วนะคะ

    回覆刪除