2011年1月23日

วิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศทั้ง 2 ธุรกิจ


เสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศให้ทั้ง 2 ธุรกิจ

  สำหรับ ฟูจิ 
ฟูจิจะมีการขยายธุรกิจ   มีการเปิดโรงแรมในประเทศไทยและมีทำเลที่ดี  ถ้าฟูจิจะเจาะกล่มลูกค้าระดับบนขึ้นไป  ฟูจิควรศึกษากลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้อย่างละเอียดว่า ลูกค้าต้องการอะไร  แบบไหน อย่างไร   และที่สำคัญฟูจิจะต้องมีการพัฒนาในเรื่องของอาหารให้มีรสชาติที่อร่อยมากขึ้น และการบริการที่ดีและเหมาะสม   รวมถึงในเรื่องคุณภาพต่างๆ  และให้มีการเพิ่มอัธรถลงไปในสไตร์ญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม   และไม่ควรทำธุรกิจหรือมีการบริการปรเภทที่เหมือนกันอาจจะมีการแข่งขันเกิดขึ้นสูงและฟูจิควรมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์หรือเปิดตัวสาขาใหม่ของฟูจิให้ทุกคนได้ทราบอย่างทั่วถึงเช่นกัน
สำหรับ MK
ถ้าเอ็มเค คิดอยากจะไปเปิดสาขาในต่างประเทศ  อันดับแรกที่เอ็มเคควรคิดก่อนก็คือ  การศึกษาถึงประเพณีวัฒนธรรม  ความเป็นอยู่ของชนชาตินั้นๆ จะต้องศึกษาอย่างละเอียดให้มาก  และสร้างแรงจูงใจให้กับคนในประเทศนั้นๆ มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ถึงเอ็มเค ที่จะไปเปิดสาขาใหม่ที่นั่น ให้ทุกคนได้รู้จักเอ็มเคในรูปคอนเซ็บที่ว่า เอ็มเค อยากให้คนไทยมีสุขภาพดี หากไปเปิดสาขาที่ต่างประเทศก็ยังคงคุณภาพของอาหาร สด สะอาด ใหม่ และบริการที่ดีอยู่เสมอ ซึ่งเน้นมารับประทานกันเป็นครอบครัว เพื่อน ให้มีสุขภาพดีกันทกคน  ที่สำคัญต้องดูสถานที่ตั้งด้วยว่ามีบริการอื่นที่คล้ายกับธุรกิจของเรามีให้บริการแล้วหรือไม่ เพราะจะทำให้มีการแข่งขันกันมากขึ้นนั่นเอง

 

2010年11月23日

ขนมประเทศอินเดีย

 Indian sweets

    สำหรับการชิมขนมของประเทศอินเดียในครั้งนี้   มีร้านขายขนมไม่ค่อยมากนัก  ส่วนใหญ่จะเป็นร้านขายผ้า แต่ในที่สุดข้าพเจ้าก็ได้มีโอกาสลองชิมขนมทั้ง 3 อย่าง คือ
1. Samosa
2.Tikki
3.Kachori
      
 Samosa
      สำหรับ  Samosa  เป็นขนมที่มีรูปร่างคล้ายกับกะหรี่ปั๊ปบ้านเรานั่นเอง   Samosa   มี 2 แบบ คือ  แบบกรอบและแบบนุ่ม  ข้างนอกเป็นแป้งที่มีความแข็งพอสมควร  ข้างในมีไส้ทำด้วยมันฝรั่งและหัวมันผสมกับพริก  มีรสชาติที่เผ็ดและร้อน ส่วนอีกแบบ คือ ข้างนอกมีความนุ่มมากกว่า  และไส้ข้างในมีปริมาณที่เยอะรสชาติเหมือนกันกับแบบแรก สำหรับความเป็นอินเดียของ  Samosa  นี้  น่าจะอยู่ที่กลิ่นและรสชาติของขนมและปริมาณไส้ขนมที่มากกว่าแป้งของทางร้าน  จุดเด่นของร้านนี้อยู่ที่ไส้ข้างในของขนมที่มีมากกว่าแป้ง





Tikki

สำหรับ  Tikki  เป็นขนมที่มีรูปร่างกลมๆ สีเหลือง คล้ายกับซาลาเปาของร้านปาท่องโก๋ในบ้านเรา  ข้างนอกเป็นแป้งที่ไม่แข็งมาก  รสชาติของแป้งจืดและเหนียวมาก         ส่วนข้างในมีไส้น้อยคล้ายๆครีมชีสนิดหน่อย  รสชาติของไส้ข้างในนั้นจืดๆไม่ค่อยมีรสชาติมากนัก  สำหรับจุดเด่นของ Tikki  นี้น่าจะอยู่ที่การทำไส้และกลิ่นของแป้ง  โดยรวมแล้วจืดๆ ไม่ค่อยอร่อยสักเท่าใด




Kachori


สำหรับ  Kachori เป็นขนมที่มีรูปร่างคล้ายกับ Tikki ซึ่งมีความแตกต่างกับ Tikki คือ รูปร่างจะเรียวและแบนกว่านิดหน่อย  ส่วนเนื้อของแป้งแข็งกว่า  แต่รสชาติของแป้งคล้ายคลึงกัน  ส่วนเนื้อไส้ของ Kachori เป็นสีดำ มีรสชาติที่จืดนิดหน่อยผสมกับกลิ่นเผ็ดๆนิดๆ ถ้าพูดถึงกลิ่นของ Kachori นี้คล้ายกับไส้ไก่ในโรตีมะตะบะของบ้านเรานั่นเอง  โดยรวมแล้วข้าพเจ้าคิดว่า Kachori นี้มีความอร่อยพอกินได้อยู่บ้าง  จุดเด่นของ Kachori  คงจะเป็นกลิ่นของทางร้านที่ใส่ลงไปในเนื้อไส้ผสมกัน 

บรรยากาศการทำ

สุโคว่ย


เกินคำบรรยาย


 










ที่มา : ร้าน Punjab  sweets   ถนนพารุหัด  ซอยข้าง India  imporium

2010年11月19日

สินค้าส่งออกของอิตาลี

แก้แล้ว
 อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

       ภาวะปัจจุบัน

1. การผลิต
     
        ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2545 มีจำนวน 2,515,799 เมตริกตัน   โดยมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 63.6   ทั้งนี้เป็นผลมาจากการใช้มาตรการต่างๆ ของรัฐ  เช่น  มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ธุรกิจภาคก่อสร้างทั้งภาคเอกชนและภาครัฐมีการฟื้นตัว รวมถึงการประกาศใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs)ต่างๆ เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ  ส่งผลให้ปริมาณการใช้เหล็กในประเทศเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นมากที่สุดในไตรมาสนี้ คือ เหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ  134.3 เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในภาคการก่อสร้าง  ประกอบกับการเร่งโครงการขนาดใหญ่ต่างๆของภาครัฐและโครงการหมู่บ้านจัดสรรของภาคเอกชน ให้เสร็จทันตามกำหนดเวลา รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.3 เนื่องจากการใช้มาตรการคุ้มครองอุตสาหกรรมจากภาครัฐ ผลิตภัณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเป็นอันดับสาม คือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ  38.6
       
     

ปัญหาการผลิต

 

        จากปัญหากำลังการผลิตล้นตลาด   ทำให้เกิดการควบรวมกิจการกันระหว่างบริษัทในเครือปูนซีเมนต์ไทย  (บริษัทเหล็กสยามและบริษัทเหล็กก่อสร้างสยามกับกลุ่ม เอน ที เอส สตีล โ  ดยตั้งเป็นกลุ่มใหม่ชื่อว่า  .มิลเลเนี่ยม สตีล    ซึ่งจะผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวได้แก่เหล็กแท่งกลม   เหล็กข้ออ้อย เหล็กลวดและเหล็กโครงสร้างรูปพรรณขนาดเล็ก   การรวมตัวนี้ บ.มิลเลเนี่ยมสตีลจะมีชื่ออยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของไทย   โดยกลุ่มปูนซีเมนต์ไทยจะมีหุ้นในมิลเลเนี่ยมสตีลประมาณ 45% ส่วนที่เหลือประมาณ 55%  จะถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นในกลุ่มเอน ที เอส เดิม เจ้าหนี้และบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน

2. การตลาด
                2.1 ตลาดในประเทศ
- ปริมาณการใช้
ปริมาณความต้องการใช้ภายในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2545 มีจำนวน  4,458,662  ตัน  โดยมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่เพิ่มขึ้น คือ ร้อยละ 51.6  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  โดยส่วนใหญ่เป็นการใช้เหล็กที่ผลิตได้ในประเทศ ผลิตภัณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้เพิ่มมากที่สุด คือเหล็กทรงยาว เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 144.5  เนื่องจากการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์   ในครึ่งปีแรก ของปี 2545 มีจำนวน   8,055,122 ตัน  เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  โดยเฉพาะเหล็กทรงยาวมีปริมาณการใช้เพิ่มมากที่สุด
2.2 ตลาดต่างประเทศ
2.2.1 การนำเข้า
            ปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2545 มีจำนวน 2,282,919 เมตริกตัน มูลค่าโดยรวมประมาณ 549,778,192 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.59 และ 9.06 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป(Semi- Finished products) มีการเปลี่ยนแปลงูลค่าการนำเข้าเพิ่มมากที่สุด คือร้อยละ 52.28  เนื่องจากเป็นวัตถุดิบในการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนและเหล็กทรงยาว โดยส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากประเทศยูเครนและรัสเซีย รองลงมาคือ เหล็กลวด เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.07 เนื่องจากการเติบโตของอุตสาหกรรมก่อสร้าง  ผลิตภัณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการนำเข้าเพิ่มเป็นอันดับสาม คือ เหล็กแผ่นเคลือบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.06 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง  สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดคือ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงร้อยละ 16.46 เนื่องจากการใช้มาตรการคุ้มครองอุตสาหกรรมจากภาครัฐ รองลงมาคือ ท่อเหล็ก ลดลงร้อยละ 13.73  รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 2
สำหรับปริมาณการนำเข้าในครึ่งปีแรก ของปี 2545 มีจำนวน 4,222,172 เมตริกตัน  มูลค่าโดยรวมประมาณ 1,047,629,592 เหรียญสหรัฐฯ  อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ  33.65 และ 10.92 ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป และเหล็กลวด โดยมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ  54.54 และ 27.87 ตามลำดับ สำหรับเหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นรีดร้อนมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการนำเข้าลดลง ร้อยละ 22.27 และ 6.34  ตามลำดับ
2.2.2 การส่งออกสถานการณ์ปี 2552
ปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2545 มีจำนวน 340,056 เมตริกตัน  มูลค่าโดยรวม  120,278,821.67 เหรียญสหรัฐฯ  อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและมูลค่าการส่งออกมีทิศทางที่เพิ่มขึ้น คือ ร้อยละ 11.01  และ 0.47 ตามลำดับ  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้จะเห็นว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากภาวะการแข่งขันทางการค้าของอุตสาหกรรมเหล็ก ประเทศผู้ส่งออกจึงนำกลยุทธ์ทางด้านการลดราคาเข้ามาใช้ ประกอบกับการใช้มาตรการกีดกันการนำเข้าของต่างประเทศ   โดยผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ เหล็กลวด เพิ่มขึ้นร้อยละ 358.29 โดยส่งออกไปยังประเทศลาว และอิสราเอล รองลงมาคือ ท่อเหล็ก เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.12 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออกลดลงคือ ผลิตภัณฑ์เห็กกึ่งสำเร็จรูป(Semi-Finished products) ลดลงร้อยละ 97.37 เนื่องจากนำมาใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กขั้นกลางในประเทศมากขึ้น รองลงมาคือเหล็กแผ่นรีดร้อน  ลดลงร้อยละ 82.51 เนื่องจากการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าของต่างประเทศ เช่น มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดของประเทศสหรัฐอเมริกา(มาตรการ 201) และมาตรการ Safeguard ของสหภาพยุโรป  ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย                                           
การผลิต
ปริมาณเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญปี 2552 มีปริมาณ  6,569,485 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิด การนับซ้ำ ) ลดลง ร้อยละ 13.72 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนและเมื่อพิจารณาในราย ผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 48.40 รองลงมาคือเหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 32.14 และผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่ง สำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 30.40 โดยเป็นผลมาจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั้งในและ ต่างประเทศ จึงมีผลทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องซึ่งเป็นผู้ใช้เหล็กที่สำคัญ เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า มีความต้องการใช้เหล็กลดลง       
การใช้ในประเทศ
ปริมาณการใช้เหล็กและเหล็กกล้าในประเทศที่สำคัญใน ปี 2552 ประมาณ 8,955,082 เมตริกตัน ลดลง ร้อยละ 26.45   เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน   โดยเป็นผลมาจากความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กทรงแบนที่ลดลง ร้อยละ 26.76 และเหล็กทรงยาวที่ลดลง ร้อยละ 25.94
การนำเข้า
มูลค่าและปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญใน ปี 2552   มีจำนวนประมาณ173,043 ล้านบาทและ 6,946,241 เมตริกตัน    โดยมูลค่าและปริมาณการนำเข้าลดลง ร้อยละ 48.39 และ 32.20  ประเทศที่มีการนำเข้ามากที่สุด ไ ด้แก่  ประเทศญี่ปุ่นและรัสเซีย ผลิตภัณฑ์ที่มี  มูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  ได้แก่ เ หล็กแผ่นบางรีดร้อน (HR sheet) ลดลง ร้อยละ 64.95 รองลงมาคือ   เหล็กแผ่นบางรีดร้อนชนิดผ่านการกัดล้างและชุบน้ำมัน (HR sheet P&O) ลดลงร้อยละ 58.44  และผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ชนิดอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 57.44ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กแท่งแบน (Slab) มีมูลค่า25,210 ล้านบาท รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน มีมูลค่า 18,410 ล้านบาท        
 การส่งออก
 มูลค่าและปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในปี 2552 มีจำนวนประมาณ 36,599ล้านบาท และ 1,354,448 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการส่งออก ลดลง ร้อยละ 50.90และ 37.89 ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดในช่วงนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน ลดลง ร้อยละ 82.77 และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้าลดลง ร้อยละ 74.47 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการมูลค่าการส่งออกมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ท่อเหล็กมีตะเข็บ มีมูลค่า 9,007 ล้านบาท รองลงมาคือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน มีมูลค่า 4,334 ล้านบาท และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน มีมูลค่า 4,015 ล้านบาท ตามลำดับ
การส่งออกและนำเข้า                
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าในไทยยังไม่มีผู้ผลิตครบวงจร   โดยจะมีเพียงผลิตภัณฑ์เหล็กอุตสาหกรรมกลางน้ำและอุตสาหกรรมปลายน้ำเท่านั้น    โดยการส่งออกในอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้ามีแนวโน้มลดลงโดยเฉพาะตลาดหลัก คือ อินเดีย สหรัฐอเมริกา และตลาดใหม่ที่สามารถส่งออก  ได้แก่  ประเทศซาอุดิอาระเบีย เวียดนาม อินเดีย  และมีการคาดการณ์ว่าในปี 2553 จะมีการนำเข้าเหล็กชนิดต่างๆ เพิ่มมากขึ้นเพราะปริมาณเหล็กคงคลังในประเทศไทยยังมีไม่มาก เนื่องจากไม่มีการกักตุนรวมทั้งมีกำลังการผลิตน้อยและขาดการส่งเสริมจากภาครัฐตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำอย่างเป็นระบบ

แนวโน้มปี2553

แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในปี 2553   เมื่อเทียบกับปี 2552 คาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวเพราะสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่นอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน   และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า  ที่มีการฟื้นตัวขึ้นเช่นกันซึ่งจะส่งผลให้มีการใช้เหล็กมากยิ่งขึ้นคาดว่าความต้องการใช้เหล็กของปี 2553 จะอยู่ในช่วง 10.98 12.57 ล้านตัน 
ภาวะอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า   มีแนวโน้มว่าจะทรงตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก   ตลอดจนมาตรการเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศของภาครัฐ   เช่น มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD/CVD) และการสนับสนุนให้มีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs)  เช่น   มาตรการตรวจสอบมาตรฐานการนำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เพิ่มมากขึ้น    ซึ่งจะเป็นการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศและทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ   ที่ใช้เหล็กเป็นวัตถุดิบใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน   และยังเป็นการสนับสนุนให้ผู้ผลิตเหล็กในประเทศพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ตนเองต่อเนื่องด้วย

แหล่งที่มา    http://strategy.dip.go.th/
                             http://www.oie.go.th/industrystatus1/r_JulSep45/JulSep45_9_13.doc


วิเคราะห์  swot

               จุดแข็ง 
                1. มีการนำเครื่องจักรที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการผลิต
                2. บุคลากรมีความพร้อมที่จะรับการเรียนรู้ในเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ
                3. อุตสาหกรรมมีแหล่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมจึงทำให้เกิดความได้เปรียบในการกระจายผลิตภัณฑ์ไปยังประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน
        จุดอ่อน 
              1.ขาดแคลนการผลิตแร่เหล็กทำให้อุตสาหกรรมเหล็กไทยต้องนำเข้าเหล็กต้นน้ำเกือบทั้งหมดเพื่อผลิตเหล็กกลางน้ำและเหล็กปลายน้ำ
2. ผู้ประกอบการขาดความต่อเนื่องเชื่อมโยงในระบบการผลิต
3.
อุตสาหกรรมมีการใช้กำลังการผลิตของเครื่องจักรไม่เต็มประสิทธิภาพและมีการใช้
กระบวนการผลิตที่ไม่เหมาะสมทำให้ต้นทุนการผลิตของไทยสูง 
                4. ขาดกลไกในการแก้ไขปัญหาการทุ่มตลาดและข้อกีดกันทางการค้าอย่างทันท่วงที
5. ขาดแคลนแรงงานและโครงสร้างระบบสาธารณูปโภคที่มีคุณภาพเพียงพอ
6.
ขาดยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กและผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจนจากภาครัฐ
          โอกาส
         1. อัตราการบริโภคเหล็กต่อตัวยังมีโอกาสขยายตัวได้อีก เนื่องจากขณะนี้อัตราส่วนดังกล่าวยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการบริโภคเหล็กต่อหัวในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ต้องพิจารณาปัจจัยอื่น (ภายนอก/ภายใน)     
              2. ผลิตภัณฑ์เหล็กสามารถนำไปใช้เป็นวัสดุทดแทนผลิตภัณฑ์อื่นเช่น  คอนกรีตและไม้อุตสาหกรรมเหล็กและแนวโน้มในการพัฒนาไปสู่รูปแบบใหม่ๆก็ได้
        อุปสรรค
        1. อุตสาหกรรมเหล็กต้องใช้เงินลงทุนสูง และต้องอาศัยการนำเข้าวัตถุดิบ เทคโนโลยี และอุปกรณ์การผลิตจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก
        2. โครงสร้างภาษีและขั้นตอนศุลกากรของไทยมีความยุ่งยากและซับซ้อนทำให้เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ      
             3. การแข่งขันในตลาดโลกที่สูงขึ้น และการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าและการทุ่มตลาดจากประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ อาทิ ญี่ปุ่นและจีน เป็นต้น