2010年11月10日

เศรษฐกิจของอิตาลี

ระบบเศรษฐกิจ
                ในช่วงหลังของทศวรรษ 1980 เศรษฐกิจของอิตาลีจัดอยู่ในเกณฑ์ดี   แต่เริ่มประสบปัญหาในทศวรรษต่อมา    ทำให้รัฐบาลไม่สามารถควบคุมปัญหาการขาดดุลสาธารณะได้  เดิมประเทศทำเกษตรกรรม   แต่หลังจากปี 1945 ได้เริ่มพัฒนาภาคอุตสาหกรรมจนกระทั่งปัจจุบันมีประชากรเพียงร้อยละ 7 อยู่ในภาคการเกษตร   ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคใต้และมีฐานะยากจนกว่าทางภาคเหนือและกลาง    พืชหลักที่เพาะปลูก  ได้แก่  Sugar beet   ข้าวสาลี   ข้าวโพด  มันเทศและองุ่น (อิตาลีใช้ทำไวน์และกลายเป็นผู้ผลิตรายใหญ่)
               อิตาลีเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่สำคัญประเทศหนึ่ง  โดยมีผลผลิตเฉลี่ยต่อหัวใกล้เคียงกับประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษ  
               ผลผลิตทางอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มาจากตอนเหนือของประเทศ   ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้กุมเศรษฐกิจของอิตาลีไว้   ในขณะที่ผลผลิตทางเกษตรจากทางใต้ยังค่อนข้างด้อยพัฒนา    มีข้อสังเกตุว่าวัตถุดิบและพลังงานกว่าร้อยละ 75 เป็นการนำเข้ามาเพื่อผลิตสินค้าอุตสาหกรรม 


เศรษฐกิจ
เดิมอิตาลีเป็นประเทศเกษตรกรรม แต่หลังจากปี ค.ศ. 1945 ได้เริ่มพัฒนาภาคอุตสาหกรรมจนกระทั่งปัจจุบันมีประชากรเพียงร้อยละ 7 อยู่ในภาคการเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคใต้และมีฐานะยากจนกว่าทางภาคเหนือและกลาง พืชหลักที่เพาะปลูก ได้แก่ ต้นบีต ข้าวสาลี ข้าวโพด มันเทศและองุ่น   อิตาลีใช้องุ่นทำไวน์และเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกด้วย  ประเทศอิตาลีมีพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะแก่การเกษตรกรรม และมีทรัพยากรธรรมชาติไม่มาก  จึงเป็นประเทศที่ต้องนำเข้าอาหารและพลังงาน  อิตาลีเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาเกษตรกรรม  เป็นอุตสาหกรรมแบบพื้นฐานและมีขนาดใหญ่เป็นลำดับต้นๆของโลก โดยรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรสูงไล่เลี่ยกับอังกฤษและฝรั่งเศส อิตาลีมีจุดแข็งในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)    อุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศมี รถยนต์ เครื่องจักรกล การก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ เภสัชภัณฑ์ เครื่องไฟฟ้า เครื่องเรือน อุตสาหกรรมทอผ้า เสื้อผ้า แฟชั่น และการท่องเที่ยว อิตาลีเป็นสมาชิกกลุ่มจี 8 และเข้าร่วมสหภาพการเงินของสหภาพยุโรป (EMU) เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1998 แม้ระบบเศรษฐกิจของอิตาลีเป็นระบบทุนนิยม ที่ภาคเอกชนสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างเสรี แต่รัฐบาลยังคงเข้ามามีบทบาทควบคุมกิจกรรมที่สำคัญ เช่น สาธารณูปโภค อุตสาหกรรมพื้นฐาน เป็นต้น ซึ่งได้ก่อประโยชน์ให้แก่ภาครัฐบาลในการสร้างฐานอำนาจ และแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างพรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้มีความพยายามที่จะลดบทบาทของพรรคการเมือง โดยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการ  แต่อิตาลียังมีปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศหลายอย่าง เช่น การขาดดุลงบประมาณในระดับสูง การว่างงาน การขาดแคลนทรัพยากรพลังงานในประเทศ และระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างอิตาลีตอนเหนือ (แคว้นลอมบาร์ดี เอมีเลีย-โรมัญญา และทัสกานี) ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและการค้า และมีกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs อยู่หนาแน่น กับอิตาลีตอนกลางและตอนล่าง รวมทั้งเกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรมและมีอัตราการว่างงานสูงถึงกว่าร้อยละ 20

แหล่งที่มา   http://th.wikipedia.org/wiki/

沒有留言:

張貼留言