ปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2545 มีจำนวน 2,282,919 เมตริกตัน มูลค่าโดยรวมประมาณ 549,778,192 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.59 และ 9.06 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป(Semi- Finished products) มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการนำเข้าเพิ่มมากที่สุด คือร้อยละ 52.28 เนื่องจากเป็นวัตถุดิบในการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนและเหล็กทรงยาว โดยส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากประเทศยูเครนและรัสเซีย รองลงมาคือ เหล็กลวด เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.07 เนื่องจากการเติบโตของอุตสาหกรรมก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการนำเข้าเพิ่มเป็นอันดับสาม คือ เหล็กแผ่นเคลือบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.06 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ามาใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดคือ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงร้อยละ 16.46 เนื่องจากการใช้มาตรการคุ้มครองอุตสาหกรรมจากภาครัฐ รองลงมาคือ ท่อเหล็ก ลดลงร้อยละ 13.73 รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 2
สำหรับปริมาณการนำเข้าในครึ่งปีแรก ของปี 2545 มีจำนวน 4,222,172 เมตริกตัน มูลค่าโดยรวมประมาณ 1,047,629,592 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 33.65 และ 10.92 ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป และเหล็กลวด โดยมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 54.54 และ 27.87 ตามลำดับ สำหรับเหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นรีดร้อนมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการนำเข้าลดลง ร้อยละ 22.27 และ 6.34 ตามลำดับ
2.2.2 การส่งออกสถานการณ์ปี 2552
ปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2545 มีจำนวน 340,056 เมตริกตัน มูลค่าโดยรวม 120,278,821.67 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและมูลค่าการส่งออกมีทิศทางที่เพิ่มขึ้น คือ ร้อยละ 11.01 และ 0.47 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้จะเห็นว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากภาวะการแข่งขันทางการค้าของอุตสาหกรรมเหล็ก ประเทศผู้ส่งออกจึงนำกลยุทธ์ทางด้านการลดราคาเข้ามาใช้ ประกอบกับการใช้มาตรการกีดกันการนำเข้าของต่างประเทศ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ เหล็กลวด เพิ่มขึ้นร้อยละ 358.29 โดยส่งออกไปยังประเทศลาว และอิสราเอล รองลงมาคือ ท่อเหล็ก เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.12 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการส่งออกลดลงคือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป(Semi-Finished products) ลดลงร้อยละ 97.37 เนื่องจากนำมาใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กขั้นกลางในประเทศมากขึ้น รองลงมาคือเหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงร้อยละ 82.51 เนื่องจากการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าของต่างประเทศ เช่น มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดของประเทศสหรัฐอเมริกา(มาตรการ 201) และมาตรการ Safeguard ของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย
การผลิต
ปริมาณเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญปี 2552 มีปริมาณ 6,569,485 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิด การนับซ้ำ ) ลดลง ร้อยละ 13.72 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนและเมื่อพิจารณาในราย ผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 48.40 รองลงมาคือเหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 32.14 และผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่ง สำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 30.40 โดยเป็นผลมาจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทั้งในและ ต่างประเทศ จึงมีผลทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องซึ่งเป็นผู้ใช้เหล็กที่สำคัญ เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า มีความต้องการใช้เหล็กลดลง
การใช้ในประเทศ
ปริมาณการใช้เหล็กและเหล็กกล้าในประเทศที่สำคัญใน ปี 2552 ประมาณ 8,955,082 เมตริกตัน ลดลง ร้อยละ 26.45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลมาจากความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กทรงแบนที่ลดลง ร้อยละ 26.76 และเหล็กทรงยาวที่ลดลง ร้อยละ 25.94
การนำเข้า
มูลค่าและปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญใน ปี 2552 มีจำนวนประมาณ173,043 ล้านบาทและ 6,946,241 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการนำเข้าลดลง ร้อยละ 48.39 และ 32.20 ประเทศที่มีการนำเข้ามากที่สุด ไ ด้แก่ ประเทศญี่ปุ่นและรัสเซีย ผลิตภัณฑ์ที่มี มูลค่าการนำเข้าลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เ หล็กแผ่นบางรีดร้อน (HR sheet) ลดลง ร้อยละ 64.95 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อนชนิดผ่านการกัดล้างและชุบน้ำมัน (HR sheet P&O) ลดลงร้อยละ 58.44 และผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ชนิดอื่นๆ ลดลง ร้อยละ 57.44ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้ามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เหล็กแท่งแบน (Slab) มีมูลค่า25,210 ล้านบาท รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อน มีมูลค่า 18,410 ล้านบาท
การส่งออก
มูลค่าและปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในปี 2552 มีจำนวนประมาณ 36,599ล้านบาท และ 1,354,448 เมตริกตัน โดยมูลค่าและปริมาณการส่งออก ลดลง ร้อยละ 50.90และ 37.89 ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดในช่วงนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน ลดลง ร้อยละ 82.77 และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีด้วยไฟฟ้าลดลง ร้อยละ 74.47 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีการมูลค่าการส่งออกมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ท่อเหล็กมีตะเข็บ มีมูลค่า 9,007 ล้านบาท รองลงมาคือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน มีมูลค่า 4,334 ล้านบาท และเหล็กแผ่นบางรีดร้อน มีมูลค่า 4,015 ล้านบาท ตามลำดับ
การส่งออกและนำเข้า
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าในไทยยังไม่มีผู้ผลิตครบวงจร โดยจะมีเพียงผลิตภัณฑ์เหล็กอุตสาหกรรมกลางน้ำและอุตสาหกรรมปลายน้ำเท่านั้น โดยการส่งออกในอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้ามีแนวโน้มลดลงโดยเฉพาะตลาดหลัก คือ อินเดีย สหรัฐอเมริกา และตลาดใหม่ที่สามารถส่งออก ได้แก่ ประเทศซาอุดิอาระเบีย เวียดนาม อินเดีย และมีการคาดการณ์ว่าในปี 2553 จะมีการนำเข้าเหล็กชนิดต่างๆ เพิ่มมากขึ้นเพราะปริมาณเหล็กคงคลังในประเทศไทยยังมีไม่มาก เนื่องจากไม่มีการกักตุนรวมทั้งมีกำลังการผลิตน้อยและขาดการส่งเสริมจากภาครัฐตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำอย่างเป็นระบบ
แนวโน้มปี2553
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศในปี 2553 เมื่อเทียบกับปี 2552” คาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวเพราะสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ” เช่นอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีการฟื้นตัวขึ้นเช่นกันซึ่งจะส่งผลให้มีการใช้เหล็กมากยิ่งขึ้นคาดว่าความต้องการใช้เหล็กของปี 2553 จะอยู่ในช่วง 10.98 – 12.57 ล้านตัน
ภาวะอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า มีแนวโน้มว่าจะทรงตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก ตลอดจนมาตรการเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศของภาครัฐ เช่น มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD/CVD) และการสนับสนุนให้มีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) เช่น มาตรการตรวจสอบมาตรฐานการนำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศและทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ ที่ใช้เหล็กเป็นวัตถุดิบใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน และยังเป็นการสนับสนุนให้ผู้ผลิตเหล็กในประเทศพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ตนเองต่อเนื่องด้วย